Pages

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ประกาศ: ตัวอย่างที่จะยกทั้งหลาย ขอเขียนถึงธนาคารกรุงเทพเท่านั้นนะครับ



ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่เลือกเพราะ..

  1. เป็นธนาคารไทยในสหรัฐอเมริกา
  2. จึงเป็นธนาคารไทยเจ้าแรก และ PayPal ร่วมกิจกรรมด้วยมาอย่างยาวนาน
  3. ความคล่องตัว ความเชี่ยวชาญด้านที่เกี่ยวกับ PayPal จึงสูงกว่าเจ้าอื่น
  4. ความไว้วางใจจากสถาบันการเงินในอเมริกาอยู่ในระดับที่ดีถึงดีมาก
ตามนี้ครับ ไม่มีเหตุผลเป็นอื่นจากที่ประกาศไว้ตรงนี้ใด ๆ ทั้งสิ้นครับ.

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Seller กับบัตรเครดิต เคลียร์!!


การเพิ่มข้อมูลบัตรเครดิตเข้าไปในทะเบียนอีเบย์ เป็นเรื่องเฉพาะ Seller ที่ต้องการขายแบบ "eBay Store" เท่านั้นครับ. ส่วน Seller ปรกติธรรมดา (ชาวไทยที่มีบัญชีเงินฝากในประเทศไทย) เริ่มง่าย ๆ ด้วยการจัดการเพย์พาลของคุณให้ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ (ยืนยันอีเมลแล้ว + ยืนยันบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตแล้ว + ยืนยันบัญชีเงินฝากธนาคารแล้ว) แล้วเข้า My eBay ไปคลิกปุ่ม "Link My PayPal Account" ก็เรียบร้อยแล้วครับ.

ส่วนขั้นตอนการสมัครเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย (ทั้งปรกติและเพื่ออีเบย์สโตร์) ติดตามอีกบทความหนึ่งในครั้งหน้านะครับ ^^

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การซื้อการจ่ายเงินออนไลน์ เมื่อมีแต่บัญชีเงินฝากธนาคาร..



ใช้ PayPal + บัตรเดบิต..ครับ.

บัตรเดบิตคือบัญชีธนาคารในรูปแบบบัตรแข็ง.. ซึ่งบัตรเดบิตที่ออกโดยธนาคารในประเทศไทยที่สามารถใช้ผูกเชื่อมโยงกับเพย์พาลได้ (เพื่อเป็นแหล่งเงินในการใช้จ่าย) มีอยู่เพียง 2 รายเท่านั้น คือ..

  1. บัตรบีเฟิร์สท์ของธนาคารกรุงเทพ (Be1st).
  2. บัตรเค-เว็บช็อปปิ้งการ์ดของธนารคารกสิกรไทย (K-web Shopping Card).
ทั้งคู่เป็นบัตรเดบิตที่มีโลโกของ VISA (วีซ่า) กล่าวคือเป็น "วีซ่าเดบิต" ทั้งคู่ ซึ่งจะต้องให้ผู้ถือบัตรดำเนินการทำ "เวริฟายด์ บาย วีซ่า" (Verify by VISA) ให้เรียบร้อยเสียก่อน ก็จะสามารถใช้บัญชีธนาคารแบบบัตรแข็งนี้ ในการใช้จ่ายทางออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นครับ (เพราะฉะนั้นหมายความว่า คุณจำเป็นต้องเปิดบัญชีเงินฝากกับทั้งสองธนาคารดังกล่าวนั่นเองครับ)


[ตรงส่วนนี้คือลิงบริการเวริฟายด์ บาย วีซ่า ของธนาคารทั้งสองครับ
ธนาคารกรุงเทพ CLICK HERE
ธนาคารกสิกรไทย CLICK HERE ]



ผูกบัตรเดบิตกับเพย์พาล ..แล้วลิงค์ในอีเบย์

หลังการสมัครอีเบย์ปัจจุบันด้วยอีเมล (เพียงอีเมลแอดเดรสเท่านั้นครับ.) ..ให้เข้าเว็บอีเบย์และแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลที่อยู่ ซึ่งควรเป็นที่อยู่ที่ตรงกับในเพย์พาล และตอนที่เปิดบัญชีธนาคาร. เสร็จแล้วให้ทำการคลิกปุ่ม "Link My PalPal Account" ..และดำเนินตามขั้นตอนจนเสร็จสิ้น โดยไม่ต้องผูกบัตรเดบิตหรือกระทั่งบัตรเครดิตเข้าไปในอีเบย์ของคุณอีก (สั่งลิงค์เพย์พาลของคุณเท่านั้นครับ)

ที่เหลือก็คือ.. คุณแค่ต้องคอย "เติมเงินสด" เข้าบัญชีธนาคารของคุณเป็นประจำ-ให้พอกับที่ต้องการใช้จ่ายต่าง ๆ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ.

ทั้งหมดนี้คือการเตรียมตัวในฐานะ "ผู้ซื้อ" (Buyer)
โปรดติดตามการเตรียมตัวในฐานะ "ผู้ขาย" (Seller) อีกครั้งครับ.


.......
Copyright: All of wordings that appeared and EcommerceNEXT logo are copyright to facebook.com/EcommerceNEXT. The background photo is Image courtesy of PANPOTE / FreeDigitalPhotos.net

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การทำให้บัตรเครดิต/เดบิตของคุณ ที่ออกในประเทศไทย ใช้ออนไลน์ได้ และกับ PayPal



เสียงลือเสียงเล่าอ้าง..ตาม ๆ กันมา

ถือเป็นกรณีัคลาสสิค ..บทความนี้จะพูดถึงเรื่องราวในพ.ศ.2556 เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการเจาะไปที่บัตรเครดิต/เดบิตที่ออกโดยธนาคารในประเทศไทยโดยตรง

การที่จะบอกว่าเลขบัตรเครดิตทั่วไปใช้หักเงินออนไลน์ได้เลยนั้น จะเกี่ยวกับบัตรหมายเลขเก่าของปีก่อน ๆ ที่ผ่านไปแล้วเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ใช่ว่าทาง VISA หรือ MASTERCARD จะรองรับให้ทุกซีรี่ส์แต่อย่างใด ..เพราะฉะนั้นจะขอกล่าวอ้างอิงวิธีการต่าง ๆ ในบทความนี้ ให้ตกแก่บัตรที่ออกในประเทศตั้งแต่พ.ศ.2556 นี้เท่านั้น (ตามที่ได้เก็บข้อมูลอัพเดตล่าสุดมาด้วยตัวเอง)


เจ้าหน้าที่แบงค์ไม่เชี่ยวชาญพอ..จริง ๆ นะ..

ไม่ว่าคุณจะได้รับบัตรจากธนาคารใดมาพร้อมคำโฆษณาว่าบัตรเค้าใช้ออนไลน์ไลน์ได้ แต่ปัญหาเกิดจากการที่เจ้าหน้าที่ไม่รู้รายละเอียดกระบวนการที่ลูกค้าจะต้องทำเองเพื่อให้บัตรนั้นใช้ออนไลน์ได้..จึงไม่ได้กล่าวถึงให้ลูกค้าได้ทราบ ..และลูกค้าได้นำเลขบัตรนั้นไปลองใช้ซื้อสินค้าทางออนไลน์ แล้วก็พบว่าใช้ไม่ได้
นั่นเพราะ บัตรยังไม่เคยได้ผ่านกระบวนการพิเศษของทาง VISA และ MASTERCARD เลยนั่นเองครับ.

  • ของฝั่งวีซ่า..เรียกว่า Verified by VISA (เวริฟายด์ บาย วีซ่า)
  • ของฝั่งมาสเตอร์การ์ด..เรียกว่า Mastercard Securecode (มาสเตอร์การ์ด ซีเคียวร์โค้ด)


กระบวนการของทั้งสองนี้ ลูกค้าเจ้าของบัตรจะต้องทำด้วยตนเองเท่านั้นครับ.
เจ้าหน้าที่ธนาคารไม่สามารถทำให้ได้ เพราะฉะนั้นไม่มีบัตรใบไหนเลยที่ถูกทำไว้ให้ล่วงหน้าทั้งสิ้น. (ส่วนการกรอกเลขบัตรเครดิตโดยทั่วไปบนเว็บไซต์ต่าง ๆ นั้น เดิมทีค่อนข้างไม่ปลอดภัยพอสมควร การที่ผู้ถือบัตรกรอกเลขลงบนเว็บไซต์ที่ไม่มีการเข้ารหัสความปลอดภัยนั้น จะค่อนข้างเสี่ยงต่อการถูกดักข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย บริการลักษณะนี้จึงได้ริ่เริ่มให้บริการขึ้นมาครับ)


บัตรที่มีโลโกใดโลโกหนึ่ง ถ้าได้ผ่านกระบวนการดังกล่าวนี้ จะสามารถใช้จ่ายออนไลน์ได้อย่างปลอดภัยมากขึ้นครับ (และเช่นกันว่า บัตรไหนไม่ได้ทำ เจ้าของบัตรก็ต้องแบกรับความเสี่ยงพอควร, โดยทั่วไปบัตรเดบิตในไทยปัจจุบันนี้กำหนดว่าต้องทำครับ) ซึ่งธนาคารในไทยไม่ใช่ว่ามีบริการนี้ทุกเจ้า ต้องลองสอบถามธนาคารที่ออกบัตรครับ ว่ามีบริการตามชื่อดังกล่าวเตรียมไว้ให้ลูกค้าได้ทำหรือไม่?
..ซึ่งด้านล่างนี้ เป็นลิงค์บริการทั้งสอง ของธนาคารต่าง ๆ ของไทย เท่าที่รวบรวมไว้ได้ครับ
(ท่านใดทราบนอกเหนือจากที่แสดงไว้ สามารถแจ้งเพิ่มเติมได้ครับ)

ธนาคารกรุงเทพ CLICK HERE
ธนาคารกสิกรไทย CLICK HERE
ธนาคารไทยพาณิชย์ CLICK HERE (เฉพาะบัตรเครดิต)
ธนาคารกรุงไทย CLICK HERE (เฉพาะบัตรเครดิต)


เกี่ยวกับการนำไปใช้เป็นแหล่งเงินเพื่อชำระออกไปใน PayPal.

สำหรับ "บัตรเดบิต" (Debit Card, บัตรเงินสด, บัญชีเงินฝากในรูปตัวบัตร) นั้น. ทาง PayPal ได้ชี้แจงไว้ว่า สามารถใช้ได้อยู่ 2 เจ้าเท่านั้นครับ คือ..

  1. บัตร Be1st ของธ.กรุงเทพ
  2. 2.K-web Shopping Card ของธ.กสิกรไทย
ซึ่งเป็นบัตรวีซ่าเดบิตทั้งคู่ (เมื่อได้รับมาจากทางธนาคาร จะต้องนำมาทำกระบวนการ Verified by VISA ก่อนนะครับ จึงจะใช้ออนไลน์ได้).


ส่วนบัตรเครดิตที่มีโลโกวีซ่าหรือมาสเตอร์การ์ด สามารถนำไปดำเนินตามกระบวนการได้ทุกใบ ตามที่ธนาคารผู้ออกบัตรได้เตรียมช่องทางไว้ให้ครับ เช่นตามลิงค์ข้างต้น.

การนำบัตรเดบิตหรือบัญชีเงินฝากไปใช้งานที่เพย์พาล ควรตรวจสอบให้แน่นอนว่า การสะกดชื่อและนามสกุลเป็นภาษาอังกฤษนั้นตรงกันตั้งแต่ที่ธนาคารมา มิเช่นนั้นจะไม่สามารถใช้งานได้และส่งผลให้แอคเคาท์เพย์พาลถูกแขวนรอไว้ก่อน. แต่ถ้าเรียบร้อยดีก็จะไม่พบปัญหาดังกล่าวครับ.


.......
Copyright: All of wordings that appeared and EcommerceNEXT logo are copyright to facebook.com/EcommerceNEXT. The background photo is Image courtesy of sixninepixels / FreeDigitalPhotos.net

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ผู้ขายหน้าใหม่ อัพเดต มิถุนายน 2013 ครับ


มาจากเฟซบุคเพจเราเองนะครับ ที่ facebook.com/EcommerceNEXT

คลาสปัจจุบัน


สนใจสมัครเชิญที่เฟซบุคนะครับ คลิกจาก Class บนเมนูบาร์ด้านบนได้เลยครับ :)

Listing VS. Item ประเด็นที่ผู้ใช้อีเบย์มักสับสนจนนำไปสู่การถูกแบนน์



LIMIT

ตัวเลขจำนวนที่ผู้ขายแต่ละคนได้รับทราบว่าเป็น "ลิมิตการขายแต่ละเดือน" (Monthly selling limits, สามารถเข้าดูได้โดยชี้เมาส์ไปที่ My eBay และเลือกคลิกที่ Listings ..ตัวเลขของใครของมันนะครับ อาจไม่เหมือนกันเลยก็ได้ เพราะเงื่อนไขในการได้รับนั้นเฉพาะรายไปครับ) นั้น จะชี้ไปที่จำนวนของไอเทม (Item) ไม่ใ่ช่จำนวนของรายการสินค้าที่สามารถสร้างได้ หรือ Listing.

ซึ่งสำหรับสมาชิกใหม่ในช่วงเวลาที่พิมพ์บทความนี้นั้น ลิมิตจะมีมูลค่า (ราคา) เข้ามาเป็นส่วนให้คำนวณด้วย คือ จำนวนสินค้านับเป็นชิ้น (ไอเทม) ลงได้ 10 ชิ้น ในรอบ 30 วัน โดยที่มูลค่าการขายราคาตั้งmyh' 10 ชิ้นต้องไม่เกิน $500.-หรือราว ๆ ฿15,000.- ..ขอย้ำอีกครั้งครับว่า "ชิ้น " ไม่ใช่ "รายการ".

Listing คือ รายการสินค้า

ใน 1 รายการจึงมีสินค้ามากกว่า 1 ชิ้นก็ได้
เช่นการลงรายการขายแบบที่มีตัวเลือก ตัวอย่างคือเสื้อยืดที่มีสี, ลาย และขนาดให้ผู้ซื้อได้เลือก
ซึ่งแต่ละตัวเลือกนั้น มองให้ดีถึงความเป็นจริง ย่อมเป็นเสื้อแต่ละตัวไปนั่นเอง

Item คือ รายหนึ่งชิ้นตัวสินค้า

คุณอาจทำรายการเพียง 1 รายการที่มีสินค้านับเป็นจำนวนรายชิ้นได้มากกว่า 1
ซึ่งทั้งหมดเมื่อรวมกันแล้วถ้าเกินตัวเลขลิมิตที่ได้รับมา ก็จะถูกจำกัดสิทธิ์เอาได้นั่นเอง


Listing อาจถูกจำกัดบ้างในเรื่องของหมวดหมู่สินค้า

แต่ละช่วงเวลาของอายุแอคเคาท์และแต้มสะสม ลิมิตเรื่องหมวดหมู่ของสินค้าที่คุณสามารถเข้าร่วมได้สามารถที่จะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล นี่เองที่ทาง ebay พยายามย้ำอยู่เสมอ ว่าสมาชิกต้องติดตามข่าวสารจากภายใน My eBay ของตัวเองเป็นหลัก! ..การถามข่าวจากแหล่งอื่นหรือเทียบเคียงกับเงื่อนไขที่ผู้อื่นได้รับ..แล้วคุณเอามาทำตามเค้านั้น ไม่มีความสัมพันธ์กันเลยทั้งสิ้น

เพราะฉะนั้นใส่ใจที่จะคอยตามข่าว "ของคุณ" จาก My eBay "ของคุณ" ..ดีที่สุดครับ


.......
Copyright: All of wordings that appeared and EcommerceNEXT logo are copyright to facebook.com/EcommerceNEXT. The background photo is Image courtesy of Pixomar / FreeDigitalPhotos.net

PayPal - คือคนกลางที่ดูแลระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย



หลายคนถามหาประมาณว่า..

จะมีมั้ยที่มีใครคิดให้บริการแบบเป็นคนกลาง ที่จะถือเงินผู้ซื้อไว้ก่อนจนผู้ซื้อได้รับสินค้าแล้วจึงปล่อยเงินให้ผู้ขาย

แล้วถ้าสินค้าเสียหาย, ไม่ตรงตามสั่ง, รับแล้วไม่พอใจ สามารถช่วยเรียกเงินคืนได้ หรือกระทั่งประกันการซื้อให้ด้วย

ตำคอบคือ "มี" ..และนั่นเองที่ PayPal เป็น-อยู่-คือ.


โต๊ะเจรจา..

เพย์พาลนั้นมีมิติหน้าที่หลักคือเป็นเหมือนโต๊ะเจรจา ซึ่งสำคัญกว่าการที่ผู้ใช้จะมองแค่ว่าเป็นธนาคารหรือกระเป๋าเงินออนไลน์. การที่ผู้ซื้อจ่ายเงินค่าสินค้าไปนั้น จะได้รับการคุ้มครองในอนาคตของเงินก้อนนั้น..หมายถึงคุณจะได้เงินคืนตามนโยบาย "Buyer Protection" ถ้าคุณไม่พอใจสินค้าและต้องการเรียกเงินคืน.

..ซึ่งเพย์พาลก็ตัดทางผู้ซื้อที่เป็นมิจฉาชีพไว้ ด้วยการตั้งกติกาว่า..ผู้ซื้อจะต้องส่งสินค้าคืนผู้ขายเสียก่อนด้วย อีกทั้ง..ทั้งสองฝ่ายจะต้องคุยกันผ่านโต๊ะเพย์พาลเท่านั้น เพื่อให้เป็นหลักฐานของการสนทนาต่อรอง และปกป้องสุจริตชน.

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556